ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์อุตสาหกรรม

ทรงเกียรติ  อภิชัย : songkiat@wjtechnology.com

W.J. Technology Co., Ltd. : 27/2/2015

 

Component of Industrial Computer

ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์อุตสาหกรรม

ต่อเนื่องจากบทความตอนแรกของคอมพิวเตอร์อุตสาหกรรม (Industrial Computer) หรือคอมพิวเตอร์เกรดอุตสาหกรรม  ได้อธิบายถึง Industrial Computer คืออะไร  มีความแตกต่างกับคอมพิวเตอร์ที่ใช้ตามสำนักงานอย่างไร  แล้วมีข้อดีกว่าอย่างไร  สามารถนำไปใช้งานอะไรได้บ้าง

สำหรับตอนที่ 2 จะอธิบายส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์เกรดอุตสาหกรรม ว่ามีส่วนประกอบอะไรบ้าง  แต่ละส่วนทำหน้าที่หรือมีความจำเป็นอย่างไร  

1.Chassis หรือตัวเครื่องภายนอก

2.Motherboard แบ่งออกได้เป็นหลายชนิด จะขออธิบายเฉพาะที่ลูกค้าส่วนใหญ่เลือกใช้  ได้แก่

 

2.1 ATX Motherboard  เป็นเมนบอร์ดที่คุ้นกันมากเพราะจะมีขนาดเท่ากับเมนบอร์ดทั่วไปที่จำหน่ายตามห้าง IT  แต่แตกต่างที่เป็นเกรดอุตสาหกรรมจะมี PCI Slot, LPT port, RS-232/422/485 ,Dual Ethernet และ Support Raid 0,1,5,10 มาให้ใช้งานด้วย  มีให้เลือกสำหรับ CPU Atom, Core2 Duo, Core i และ Xeon เรียกได้ว่าให้มาครบๆ  เลือกใช้ตามความต้องการเลยครับ

2.2 Mini iTX MotherBoards เป็นเมนบอร์ดที่มีขนาดเล็กกว่า ATX ที่มี PCI Slot เพียง 1 หรือ 2 slot , LPT port, RS-232/422/485 ,Dual Ethernet และ Support Raid 0,1,5,10 มาให้ใช้งานด้วย เหมาะสำหรับงานที่ไม่ต้องการใช้งานกับ Interface card มากนัก และงานที่ต้องการขนาดเล็กกระทัดรัดแต่ยังคงไว้ซึ่งประสิทธิภาพ มีทั้ง CPU Atom, Core2 Duo และ Core i  โดย Chassis ที่ใช้จะเป็นขนาด Micro-Box

2.3 PICMG SCB เป็นเมนบอร์ดที่หลายคนอาจจะไม่เคยเห็น  เพราะไม่มีจำหน่ายทั่วไปตามห้าง IT มีลักษณะเป็น Single card ยาว interface port ต่างๆ จะเชื่อมต่อด้วยสายแพออกไปที่ด้านหลังของ chassis เช่น LPT port, RS-232/422/485 , USB port มี Dual Ethernet และ Support Raid 0,1,5,10 มาให้ใช้งานเช่นกัน  เหมาะสำหรับงานที่ต้องการใช้ Interface card จำนวนมาก  จุดเด่นคือง่ายในการถอดประกอบ มีทั้ง CPU Pentium4, Atom, Core2 Duo และ Core i โดย PICMG 1.3 จะเพิ่มการรองรับ PCI Express ในขณะที่ PICMG 1.0 รองรับ ISA & PCI Slot  เมนบอร์ดชนิดนี้ต้องใช้งานร่วมกับตัวขยาย Slot หรือ Backplane

2.4 PC104 เป็นเมนบอร์ดที่หลายคนอาจจะไม่เคยเห็นเลย  นอกจากจะไม่มีจำหน่ายทั่วไปตามห้าง IT แล้ว  เครื่องจักรที่ใช้ PC104 ก็มีจำนวนไม่มากด้วยเช่นกัน   มีลักษณะเป็นแผ่นวงจรพิมพ์ที่มี CPU, RAM และ Storage ฝังตัวบนบอร์ดแล้ว  interface port ต่างๆ จะเชื่อมต่อด้วยสายแพ เหมาะสำหรับงานที่ต้องการขนาดเล็ก น้ำหนักเบา การขยาย Interface ทำโดยใช้ Interface card ที่เป็น 104 ต่อกันเป็นชั้นสูงขึ้นไป 

3. Backplane  เป็นบอร์ดขยาย Slot ใช้กับเมนบอร์ดชนิด PICMG ผู้ใช้สามารถเลือกรุ่นที่รองรับจำนวน Slot ต่างๆได้  เช่น ISA slot, PCI slot, PCIex1, PCIex4, PCIex8, PCIex16  ทั้งนี้ต้องระบุด้วยว่าเป็น PICMG1.0 หรือ 1.3 ด้วย   เหมาะสำหรับคอมพิวเตอร์ที่มี Interface card ใช้งานจำนวนมาก

4. Power Supply ทำหน้าที่จ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับอุปกรณ์ต่างๆเช่น Mainboard, พัดลม, DVD, HDD, และ Interface card ต่างๆ  ดังนั้นจะต้องมีความสามารถในการจ่ายกระแสได้ต่อเนื่อง  หรือที่หลายคนชอบพูดว่าวัตต์เต็ม  และต้องสามารถใช้งานที่ระดับแรงดันไฟฟ้าได้กว้างตั้งแต่ 110VAC-240VAC อีกด้วย   ตัวPower supply บางชนิดเป็นแบบ Redundant หรือทำงานคู่ขนานกันกรณีเกิดเสียขึ้นมาอีกตัวก็ยังจ่ายกระแสไฟได้  ทำให้ระบบสามารถทำงานได้ต่อเนื่อง  เหมาะสำหรับระบบ Server

5. HDD. Rack mobile  โดยติดตั้งในช่อง CD-ROM เพื่อความสะดวกในการถอดหรือใส่ HDD. กรณีเป็น Hot swap สามารถถออด HDD. โดยไม่ต้อง Shut down เครื่อง IPC

6. Industrial Cooler Fan  คือพัดลมระบายอากาศ มีขนาดให้เลือกคือ 1U,2U และ 3U ซิงค์ระบายควมร้อนมักทำมาจากทองแดงเพราะนำความร้อนได้ดี   ช่วยลดความร้อนสะสมบนตัว CPU 

7. Storage  คือแหล่งเก็บระบบปฏิบัติการ  หรือข้อมูลต่างๆ กรณีเลือกเป็น HDD ต้องเลือกรุ่นที่ออกแบบมาให้ใช้งานแบบ Heavy Duty ได้ เช่น WD รุ่น Black หรือ Red  หากเป็นไปได้ควรเลือกใช้ที่เป็น SSD เพราะมีความเร็วในการอ่านเขียน  สามารถทำงานที่อุณหภูมิสูง  และทนต่อการสั่นสะเทือนได้ดีกว่า HDD. 

8. Monitor  หรือจอแสดงผล  ส่วนใหญ่จะออกแบบให้ติดตั้งแบบฝัง หรือแขวนด้วย Arm มีคุณสมบัติเด่นคือทำงานที่อุณหภูมิสูงได้ วัสดุภายนอกมักจะเป็นโลหะ  และได้มาตรฐาน IP 65   และบางรุ่นรองรับการใช้นิ้วสัมผัสหรือ Touch Screen แบบ Resistive/Capacitive

9. ระบบปฏิบัติการ Operating System สามารถติดตั้งด้วย Microsoft  หรือ Linux ขึ้นกับโปรแกรมและ Interface Card ว่ารองรับหรือไม่ กรณีของ Windows สามารถเลือกใช้ Window XP Embedded, Windows 7 Pro(32/64bit) , Windows 7 Embedded หรือ Windows 8.1Pro เป็นต้น    แต่อย่างไรก็ตามคอมพิวเตอร์อุตสาหกรรมเหมาะที่สุดสำหรับการใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม   หรือต้องทำงานอย่างต่อเนื่อง (24x7)  ควรจะใช้ Operating System ที่เป็น Embedded  ด้วยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพสูงสุด

แหล่งข้อมูลอ้างอิง

www.wjtechnology.com , www.adlinktech.com, www.axiomtek.com